วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่12
การใช้โปรแกรม SPSS
1. ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรม
คลิก Start -> All Programs -> SPSS for Windows -> SPSS 11.5 for Windowsหรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows
2. ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS
เมื่อเปิดโปรแกรมจะได้หน้าต่างที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
-Title Bar บอกชื่อไฟล์ เช่น Untitled-SPSS Data Editor (หากเปิดครั้งแรก)
-Menu Bar คำสั่งการทำงาน
-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
-Cases ชุดของตัวแปร
-Variable กำหนดชื่อตัวแปร
-View Bar มีสองส่วน ได้แก่ Variable View (สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร) และ Data View (เพิ่มและแก้ไขตัวแปร)
-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน
3. การป้อนข้อมูลจากหน้าจอData Editor
3.1 เปิด SPSS Data Editor โดยไปที่ File -> New -> Data
3.2 กำหนดชื่อและรายละเอียด จากหน้าจอ Variable View
3.3 ป้อนข้อมูล Data View
3.4 บันทึกข้อมูล File -> Save
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่13
ขอนำเสนอผลการศึกษาดูงานที่โรงเรียนพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ แทน
วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
ภายในปีการศึกษา 2554 นักเรียนโรงเรียนอนุบาลพยุหะคีรี มีศักยภาพในการเรียนรู้ตามเกณฑ์มาตรฐาน สร้างองค์ความรู้ คู่คุณธรรม ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รักษ์สิ่งแวดล้อม มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย...
ผลงานที่ภาคภูมิใจ
l โรงเรียนในโครงการ เยาวชนร่วมใจ ลดน้ำเสีย เพิ่มน้ำใส ให้เจ้าพระยา
l งานวิจัย BSC คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นำเสนอที่ Bitec บางนา
การนำการบริหารแบบสมดุล(Balanced Scorecard) สู่โรงเรียน
Balanced Scorecard เป็นผลงานวิจัยของ P.Norton & Robert S. Kaplan เมื่อปี ค.ศ.1990 เพื่อแสวงหา วิธีการวัดผลงานขององค์กร
l หลักการ แนวคิด ของ Balanced Scorecard เครื่องมือทางด้านการบริหารที่ช่วยแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ(Strategic Implementation) โดยกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ และแนวทางการบรรลุวัตถุประสงค์ของเป้าหมาย ตลอดจนการติดตาม ตรวจสอบ การควบคุมกลยุทธ์ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
4 มุมมอง ตามหลักการบริหาร Balanced Scorecard
1. มุมมองด้านนักเรียน
ประหยัด อดออม ตามแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียง(Student Perspective) ประกอบด้วยวัตถุประสงค์
กลยุทธ์...ดังนี้
1. นักเรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐาน
2. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีความรับผิดชอบ
3. นักเรียนมีสุขภาพกายตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีสุขภาพจิตที่ดี (S3)
2. มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Perspective) ประกอบด้วยวัตถุประสงค์กลยุทธ์...ดังนี้
1. โรงเรียนมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ตามหลักการของ SBM
2. โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง
3. โรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรที่เหมาะสม
3. มุมมองด้านการเรียนรู้ และการพัฒนา (Learning & Developing Perspective) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์กลยุทธ์...ดังนี้
1. โรงเรียนมีครูที่เป็นครูมืออาชีพ
2. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
3. โรงเรียนมีการแสวงหาความรู้จากองค์กรภายนอกและชุมชนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่
4. โรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและการปฏิบัติงานที่เชื่อถือได้
4. มุมมองด้านงบประมาณ และทรัพยากร(Budget & Resource Perspective) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์กลยุทธ์ ...ดังนี้
1. การระดมทรัพยากรจากชุมชน เพื่อการพัฒนาการศึกษา
2. โรงเรียนสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
3. โรงเรียนใช้ทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ ร่วมกัน
วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
ภายในปีการศึกษา 2554 นักเรียนโรงเรียนอนุบาลพยุหะคีรี มีศักยภาพในการเรียนรู้ตามเกณฑ์มาตรฐาน สร้างองค์ความรู้ คู่คุณธรรม ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รักษ์สิ่งแวดล้อม มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย...
ผลงานที่ภาคภูมิใจ
l โรงเรียนในโครงการ เยาวชนร่วมใจ ลดน้ำเสีย เพิ่มน้ำใส ให้เจ้าพระยา
l งานวิจัย BSC คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นำเสนอที่ Bitec บางนา
การนำการบริหารแบบสมดุล(Balanced Scorecard) สู่โรงเรียน
Balanced Scorecard เป็นผลงานวิจัยของ P.Norton & Robert S. Kaplan เมื่อปี ค.ศ.1990 เพื่อแสวงหา วิธีการวัดผลงานขององค์กร
l หลักการ แนวคิด ของ Balanced Scorecard เครื่องมือทางด้านการบริหารที่ช่วยแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ(Strategic Implementation) โดยกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ และแนวทางการบรรลุวัตถุประสงค์ของเป้าหมาย ตลอดจนการติดตาม ตรวจสอบ การควบคุมกลยุทธ์ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
4 มุมมอง ตามหลักการบริหาร Balanced Scorecard
1. มุมมองด้านนักเรียน
ประหยัด อดออม ตามแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียง(Student Perspective) ประกอบด้วยวัตถุประสงค์
กลยุทธ์...ดังนี้
1. นักเรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐาน
2. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีความรับผิดชอบ
3. นักเรียนมีสุขภาพกายตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีสุขภาพจิตที่ดี (S3)
2. มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Perspective) ประกอบด้วยวัตถุประสงค์กลยุทธ์...ดังนี้
1. โรงเรียนมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ตามหลักการของ SBM
2. โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง
3. โรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรที่เหมาะสม
3. มุมมองด้านการเรียนรู้ และการพัฒนา (Learning & Developing Perspective) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์กลยุทธ์...ดังนี้
1. โรงเรียนมีครูที่เป็นครูมืออาชีพ
2. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
3. โรงเรียนมีการแสวงหาความรู้จากองค์กรภายนอกและชุมชนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่
4. โรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและการปฏิบัติงานที่เชื่อถือได้
4. มุมมองด้านงบประมาณ และทรัพยากร(Budget & Resource Perspective) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์กลยุทธ์ ...ดังนี้
1. การระดมทรัพยากรจากชุมชน เพื่อการพัฒนาการศึกษา
2. โรงเรียนสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
3. โรงเรียนใช้ทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ ร่วมกัน
ใบงานที่ 14
เปรียบเทียบจุดเด่น/จุดด้อยของ Blog กับ Gotoknow ส่วนตัว
จุดเด่นของ blog
- เป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่ง- ได้เจอเพื่อนเก่าและเพื่อนใหม่เป็นที่พบปะพูดคุยกัน- เป็นแหล่งข้อมูล ได้ศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยน- เป็นเวปที่ไม่ต้องจ่ายตังค์ ใช้พื้นที่ฟรี- เป็นเสมือนไดอารี่ในการถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนตัว- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ
- ใช้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ประหยัดค่าใช้จ่ายและอัปเดทข้อมูลได้ตลอดเวลาจุดด้อยของ blog- มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม หรือเข้าข่ายผิดกฎหมาย
- เป็นการใช้เนื้อที่ฟรีในการทำเวป อาจถูกยกเลิกได้ตลอดเวลา- เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ บางครั้งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ความแตกต่างระหว่าง blogspot และ gotokhowGotoknow- Gotokhow ไม่สามารถตกแต่ง blog ได้มาก ซึ่งแตกต่างจาก blogspot ซึ่งผู้เขียนสามารถตกแต่ง blog ได้หลากหลาย ทำให้สร้างแรงจูงใจในการทำ blog ได้มากกว่า gotokhow เช่น สามารถเปลี่ยนสกินได้มาก สามารถใส่คลิป เพลง ลูกเล่นต่างๆ ได้เยอะ ทำให้มีความน่าสนใจมาก ผู้เขียนเองก็สนุกกับการเขียน blog เปิดโอกาสให้เจ้าของ blog ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่
- Gotokhow มีผู้คอยดูแลระบบกลาง คอยสร้างความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ สร้างบรรยากาศและมิตรภาพที่งดงาม
- Gotokhow เมื่อบันทึกบทความแล้ว นอกจากข้อความจะปรากฏใน blog ตัวเองแล้วยังปรากฏใน blog กลางของ gotokhow ด้วย แต่ blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้นให้แก่สมาชิก แต่ blogspot ไม่มีผู้คอยดูแลระบบ เจ้าของ blog เท่านั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการตรวจสอบและกลั่นกรอง- Gotokhow มีการประเมินผลการเขียนบล็อก มีสถิติแสดงจำนวน มีการให้ “รางวัลสุดคะนึง” ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เขียนบล็อกประเภทต่างๆ ทำให้ผู้เขียนบล็อกเกิดกำลังใจ ซึ่งเป็นเหมือนพันธะสัญญาที่จะต้องพัฒนาการเขียนการคิดและการนำความรู้ไปปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น แต่ blogspot ไม่มีในส่วนนี้
จุดเด่นของ blog
- เป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่ง- ได้เจอเพื่อนเก่าและเพื่อนใหม่เป็นที่พบปะพูดคุยกัน- เป็นแหล่งข้อมูล ได้ศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยน- เป็นเวปที่ไม่ต้องจ่ายตังค์ ใช้พื้นที่ฟรี- เป็นเสมือนไดอารี่ในการถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนตัว- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ
- ใช้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ประหยัดค่าใช้จ่ายและอัปเดทข้อมูลได้ตลอดเวลาจุดด้อยของ blog- มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม หรือเข้าข่ายผิดกฎหมาย
- เป็นการใช้เนื้อที่ฟรีในการทำเวป อาจถูกยกเลิกได้ตลอดเวลา- เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ บางครั้งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ความแตกต่างระหว่าง blogspot และ gotokhowGotoknow- Gotokhow ไม่สามารถตกแต่ง blog ได้มาก ซึ่งแตกต่างจาก blogspot ซึ่งผู้เขียนสามารถตกแต่ง blog ได้หลากหลาย ทำให้สร้างแรงจูงใจในการทำ blog ได้มากกว่า gotokhow เช่น สามารถเปลี่ยนสกินได้มาก สามารถใส่คลิป เพลง ลูกเล่นต่างๆ ได้เยอะ ทำให้มีความน่าสนใจมาก ผู้เขียนเองก็สนุกกับการเขียน blog เปิดโอกาสให้เจ้าของ blog ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่
- Gotokhow มีผู้คอยดูแลระบบกลาง คอยสร้างความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ สร้างบรรยากาศและมิตรภาพที่งดงาม
- Gotokhow เมื่อบันทึกบทความแล้ว นอกจากข้อความจะปรากฏใน blog ตัวเองแล้วยังปรากฏใน blog กลางของ gotokhow ด้วย แต่ blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้นให้แก่สมาชิก แต่ blogspot ไม่มีผู้คอยดูแลระบบ เจ้าของ blog เท่านั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการตรวจสอบและกลั่นกรอง- Gotokhow มีการประเมินผลการเขียนบล็อก มีสถิติแสดงจำนวน มีการให้ “รางวัลสุดคะนึง” ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เขียนบล็อกประเภทต่างๆ ทำให้ผู้เขียนบล็อกเกิดกำลังใจ ซึ่งเป็นเหมือนพันธะสัญญาที่จะต้องพัฒนาการเขียนการคิดและการนำความรู้ไปปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น แต่ blogspot ไม่มีในส่วนนี้
วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 10
ใบงานที่10
ชื่อ นายสุทัศน์ บุญชัย
เกิดวันที่ 25 กันยายน 2507
การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหัวลำพู
มัธยมศึกษา โรงเรียนปากพนัง โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร
อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชื่อ นายสุทัศน์ บุญชัย
เกิดวันที่ 25 กันยายน 2507
การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหัวลำพู
มัธยมศึกษา โรงเรียนปากพนัง โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร
อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ใบงานที่ 11
ใบงานที่ 11 : แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้สอน"อ.อภิชาติ "
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้สอนในเรื่องการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงการเรียนการสอน
ความคิดเห็น1. ด้านการจัดการเรียนรู้ โดยส่วนใหญ่ อาจารย์จัดการเรียนรู้เน้นการปฏิบัติจริง ปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นวิธีการที่ดีมาก ทำให้กระผมพัฒนาการใช้ ICT เป็นอย่างมาก เกิดความคล่องแคล่วในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร สามารถค้นหาข้อมูลได้บ้าง ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น แต่บางครั้งสอนเร็วเกินไปเนื่องจากพื้นฐานการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์นักศึกษาหลายคน แค่เปิดเครื่องได้เท่านั้นเอง ในขณะที่บางคนมีความเชี่ยวชาญ2.ด้านความสัมพันธ์ที่ดีกับนักศึกษา : อาจารย์อภิชาติ ให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา ให้คำปรึกษาที่ดี มีความเป็นกัลยานมิตร นักศึกษาส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ส่งผลให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน3. ด้านการวัดและประเมินผล เนื่องจากนักศึกษามีความแตกต่างทางพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ จึงต้องการให้อาจารย์ได้ประเมินพัฒนาการมากกว่าการประเมินผลสัมฤทธิ์
ขอขอบพระคุณอาจารย์อภิชาติที่ทำให้ผม มีโอกาสได้พัฒนาตนเอง มีความรู้ในการใช้งานด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้สอนในเรื่องการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงการเรียนการสอน
ความคิดเห็น1. ด้านการจัดการเรียนรู้ โดยส่วนใหญ่ อาจารย์จัดการเรียนรู้เน้นการปฏิบัติจริง ปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นวิธีการที่ดีมาก ทำให้กระผมพัฒนาการใช้ ICT เป็นอย่างมาก เกิดความคล่องแคล่วในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร สามารถค้นหาข้อมูลได้บ้าง ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น แต่บางครั้งสอนเร็วเกินไปเนื่องจากพื้นฐานการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์นักศึกษาหลายคน แค่เปิดเครื่องได้เท่านั้นเอง ในขณะที่บางคนมีความเชี่ยวชาญ2.ด้านความสัมพันธ์ที่ดีกับนักศึกษา : อาจารย์อภิชาติ ให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา ให้คำปรึกษาที่ดี มีความเป็นกัลยานมิตร นักศึกษาส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ส่งผลให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน3. ด้านการวัดและประเมินผล เนื่องจากนักศึกษามีความแตกต่างทางพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ จึงต้องการให้อาจารย์ได้ประเมินพัฒนาการมากกว่าการประเมินผลสัมฤทธิ์
ขอขอบพระคุณอาจารย์อภิชาติที่ทำให้ผม มีโอกาสได้พัฒนาตนเอง มีความรู้ในการใช้งานด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น
วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานที่9
คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ (Management Professional)
1. สรุปคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ การบริหารจัดการที่ดีมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ หลายประการ ผู้บริหารควรยึดมั่น ด้วยการนำหลักการบริหารแบบธรรมาภิบาล (Good Governance) มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ได้ ด้วยการนำหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ประกอบด้วยหลักการ 6 ประการ ดังนี้1.หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ2.หลักคุณธรรม (Morality) หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง 3.หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ
4.หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ
5.หลักความรับผิดชอบ (Responsibility ) หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
6.หลักความคุ้มค่า (Cost effectiveness or Economy) หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
อ้างอิง : www.m-ed.net/doc01/executive.doc gotoknow.org/blog/thecityedu/159300
1. สรุปคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ การบริหารจัดการที่ดีมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ หลายประการ ผู้บริหารควรยึดมั่น ด้วยการนำหลักการบริหารแบบธรรมาภิบาล (Good Governance) มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ได้ ด้วยการนำหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ประกอบด้วยหลักการ 6 ประการ ดังนี้1.หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ2.หลักคุณธรรม (Morality) หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง 3.หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ
4.หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ
5.หลักความรับผิดชอบ (Responsibility ) หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
6.หลักความคุ้มค่า (Cost effectiveness or Economy) หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
อ้างอิง : www.m-ed.net/doc01/executive.doc gotoknow.org/blog/thecityedu/159300
ใบงานที่8
ใบงานที่ 8
1. ระดับนามบัญญัติ (nominal scale) เป็นมาตราการวัดที่กำหนดสัญลักษณ์ขึ้นมา เพื่อเรียกหรือจำแนก หรือจัดประเภทสิ่งของตามคุณลักษณะ เช่น เพศ ศาสนา เป็นต้น
2. ระดับเรียงอันดับ (ordinal scale) เป็นมาตราการวัดที่แสดงปริมาณความมากน้อย (magnitude)
3. ระดับอันตรภาค (interval scale) เป็นมาตราการวัดที่มีคุณสมบัติ 2 ประการคือ 1) เป็น ตัวเลขที่แสดงปริมาณมากน้อย (magnitude) 2) ความแตกต่างระหว่างหน่วยเท่ากัน (equal intervals) เช่น การแบ่ง 1 ปีออกเป็น 365 วัน ซึ่งแต่ละวันถือว่ามีหน่วย หรือช่วงระยะเวลาเท่ากัน หรือการแบ่งช่วงการวัดระดับความร้อนออกเป็นองศา เป็นต้น
4. ระดับอัตราส่วน (ratio scale) เป็นมาตราการวัดที่มีคุณสมบัติ 3 ประการคือ 1) เป็นตัวเลขที่แสดงปริมาณมากน้อย(magnitude) 2) ความแตกต่างระหว่างหน่วยแต่ละหน่วยเท่ากัน(equal interval) 3) มีศูนย์แท้ (absolute Zero) ข้อมูลที่จัดอยู่ในมาตรานี้มักเป็นข้อมูลทางกายภาพศาสตร์ (physical Sciences) เช่น สมศรีสูง 160 เนติเมตร แก้วสูง 80 เซ็นติเมตร แสดงว่าสมศรีสูงกว่าแก้ว 80 เซ็นติเมตร หรือสูงเป็น 2 เท่าของแก้ว หรือเก้าอี้สูง 0 เซ็นติเมตรแสดงว่าไม่มีความสูงอยู่เลย
ตัวแปร : Variable มาจากคำว่า vary = ผันแปร เปลี่ยนแปลง able = สามารถ Variable = สิ่งที่สามารถแปรค่าได้ ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชายและเพศหญิง ระดับการศึกษาอาจแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นต้น สิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าไม่ได้ไม่ถือว่าเป็นตัวแปรเช่น คน แมว แต่ถ้าเป็น เชื้อชาติของคน สีของแมว จะกลายเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าได้จึงจะถือว่าเป็นตัวแปร ประเภทของตัวแปร เกณฑ์ในการจำแนกประเภทของตัวแปรมี4 ลักษณะคือ
1. พิจารณาคุณสมบัติของค่าที่แปรออกมาแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ(Quantitative Variables) เป็นตัวแปรที่แตกต่างกันในระหว่างพวกเดียวกันหรือค่าที่แปรออกมาแตกต่างกันออกไปตามความถี่จำนวนปริมาณมากน้อยหรือลำดับที่ เช่น ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาต่อคน ต่อวัน (10,15,20,...(บาท)) 1.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ(Qualitative Variables) เป็นตัวแปร ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันในแง่ของชนิดหรือประเภทโดยใช้ชื่อเป็นภาษาที่แสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในพวกนั้น เช่น อาชีพ (ข้าราชการ ค้าขาย เกษตรกร รับจ้าง) 2. พิจารณาความต่อเนื่องตามธรรมชาติของตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 2.1 ตัวแปรค่าต่อเนื่อง (Continuous Variables) เป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่องกันตลอด เช่น ส่วนสูงน้ำหนัก คะแนนสอบ เป็นต้น
2.2 ตัวแปรค่าไม่ต่อเนื่อง(Discrete Variables) ตัวแปรประเภทนี้มีค่าเฉพาะตัวของมัน แยกออกจากกันเด็ดขาดวัดค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น จำนวนหนังสือ เพศ (ชายแทนด้วย 0, หญิงแทนด้วย 1)เป็นต้น 3. พิจารณาความเป็นไปได้ของผู้วิจัยที่จะจัดกระทำกับตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 3.1 ตัวแปรที่กำหนดได้(Active Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสามารถกำหนดให้กับผู้รับการทดลองได้เช่น วิธีสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การจัดสภาพห้องเรียนและอื่น ๆ เป็นต้น 3.2 ตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้(Attribute of Organismic Variables) เป็นตัวแปรที่ยากจะกำหนดให้ผู้รับการทดลองได้ตัวแปรเหล่านี้เป็นลักษณะของผู้รับการทดลอง เช่น เพศ สภาพเศรษฐกิจ ความถนัดเป็นต้น 4. พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผลเป็นการแบ่งตามลักษณะการใช้เป็นวิธีแบ่งตัวแปรที่นิยมกันมากที่สุดแบ่งเป็น 4.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(Independent Variables) เป็นตัวแปรที่จะทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุตัวแปรที่มาก่อน 4.2 ตัวแปรตาม(Dependent Variables) เป็นตัวแปรที่เป็นผลเป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้น 4.3 ตัวแปรแทรกซ้อน(Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นโดยผู้วิจัยต้องพยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ควบคุมด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างควบคุมโดยวิธีการทางสถิติหรือ ผู้วิจัยอาจนำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษาเป็นตัวแปรอิสระอีกตัวแปรหนึ่งไปเลย ตัวอย่าง 1) สถานการณ์: ครูคนหนึ่งมีความสนใจจะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นม.1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปและแบบธรรมดามีผลแตกต่างกันหรือไม่ ตัวแปรต้น คือ วิธีสอน ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ตัวแปรแทรกซ้อน ที่น่าจะต้องควบคุม คือการเรียนพิเศษการศึกษาเพิ่มเติมพื้นฐานของนักเรียน 2) จุดมุ่งหมายการวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบความถนัดด้านเครื่องจักรกลระหว่างนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง ตัวแปรต้น คือ เพศของนักเรียน ตัวแปรตาม คือ ความถนัดด้านเครื่องจักรกล ตัวแปรแทรกซ้อน ความตั้งใจเรียน พื้นฐานนักเรียน 3) สมมุติฐานการวิจัย: นักเรียนที่มีผู้ปกครองรับราชการ และนักเรียนที่มีผู้ปกครองประกอบ อาชีพเกษตรกรรมมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำแตกต่างกัน ตัวแปรต้น คือ อาชีพของผู้ปกครอง ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมความเป็นผู้นำ
1. ระดับนามบัญญัติ (nominal scale) เป็นมาตราการวัดที่กำหนดสัญลักษณ์ขึ้นมา เพื่อเรียกหรือจำแนก หรือจัดประเภทสิ่งของตามคุณลักษณะ เช่น เพศ ศาสนา เป็นต้น
2. ระดับเรียงอันดับ (ordinal scale) เป็นมาตราการวัดที่แสดงปริมาณความมากน้อย (magnitude)
3. ระดับอันตรภาค (interval scale) เป็นมาตราการวัดที่มีคุณสมบัติ 2 ประการคือ 1) เป็น ตัวเลขที่แสดงปริมาณมากน้อย (magnitude) 2) ความแตกต่างระหว่างหน่วยเท่ากัน (equal intervals) เช่น การแบ่ง 1 ปีออกเป็น 365 วัน ซึ่งแต่ละวันถือว่ามีหน่วย หรือช่วงระยะเวลาเท่ากัน หรือการแบ่งช่วงการวัดระดับความร้อนออกเป็นองศา เป็นต้น
4. ระดับอัตราส่วน (ratio scale) เป็นมาตราการวัดที่มีคุณสมบัติ 3 ประการคือ 1) เป็นตัวเลขที่แสดงปริมาณมากน้อย(magnitude) 2) ความแตกต่างระหว่างหน่วยแต่ละหน่วยเท่ากัน(equal interval) 3) มีศูนย์แท้ (absolute Zero) ข้อมูลที่จัดอยู่ในมาตรานี้มักเป็นข้อมูลทางกายภาพศาสตร์ (physical Sciences) เช่น สมศรีสูง 160 เนติเมตร แก้วสูง 80 เซ็นติเมตร แสดงว่าสมศรีสูงกว่าแก้ว 80 เซ็นติเมตร หรือสูงเป็น 2 เท่าของแก้ว หรือเก้าอี้สูง 0 เซ็นติเมตรแสดงว่าไม่มีความสูงอยู่เลย
ตัวแปร : Variable มาจากคำว่า vary = ผันแปร เปลี่ยนแปลง able = สามารถ Variable = สิ่งที่สามารถแปรค่าได้ ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชายและเพศหญิง ระดับการศึกษาอาจแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นต้น สิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าไม่ได้ไม่ถือว่าเป็นตัวแปรเช่น คน แมว แต่ถ้าเป็น เชื้อชาติของคน สีของแมว จะกลายเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าได้จึงจะถือว่าเป็นตัวแปร ประเภทของตัวแปร เกณฑ์ในการจำแนกประเภทของตัวแปรมี4 ลักษณะคือ
1. พิจารณาคุณสมบัติของค่าที่แปรออกมาแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ(Quantitative Variables) เป็นตัวแปรที่แตกต่างกันในระหว่างพวกเดียวกันหรือค่าที่แปรออกมาแตกต่างกันออกไปตามความถี่จำนวนปริมาณมากน้อยหรือลำดับที่ เช่น ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาต่อคน ต่อวัน (10,15,20,...(บาท)) 1.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ(Qualitative Variables) เป็นตัวแปร ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันในแง่ของชนิดหรือประเภทโดยใช้ชื่อเป็นภาษาที่แสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในพวกนั้น เช่น อาชีพ (ข้าราชการ ค้าขาย เกษตรกร รับจ้าง) 2. พิจารณาความต่อเนื่องตามธรรมชาติของตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 2.1 ตัวแปรค่าต่อเนื่อง (Continuous Variables) เป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่องกันตลอด เช่น ส่วนสูงน้ำหนัก คะแนนสอบ เป็นต้น
2.2 ตัวแปรค่าไม่ต่อเนื่อง(Discrete Variables) ตัวแปรประเภทนี้มีค่าเฉพาะตัวของมัน แยกออกจากกันเด็ดขาดวัดค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น จำนวนหนังสือ เพศ (ชายแทนด้วย 0, หญิงแทนด้วย 1)เป็นต้น 3. พิจารณาความเป็นไปได้ของผู้วิจัยที่จะจัดกระทำกับตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 3.1 ตัวแปรที่กำหนดได้(Active Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสามารถกำหนดให้กับผู้รับการทดลองได้เช่น วิธีสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การจัดสภาพห้องเรียนและอื่น ๆ เป็นต้น 3.2 ตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้(Attribute of Organismic Variables) เป็นตัวแปรที่ยากจะกำหนดให้ผู้รับการทดลองได้ตัวแปรเหล่านี้เป็นลักษณะของผู้รับการทดลอง เช่น เพศ สภาพเศรษฐกิจ ความถนัดเป็นต้น 4. พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผลเป็นการแบ่งตามลักษณะการใช้เป็นวิธีแบ่งตัวแปรที่นิยมกันมากที่สุดแบ่งเป็น 4.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(Independent Variables) เป็นตัวแปรที่จะทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุตัวแปรที่มาก่อน 4.2 ตัวแปรตาม(Dependent Variables) เป็นตัวแปรที่เป็นผลเป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้น 4.3 ตัวแปรแทรกซ้อน(Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นโดยผู้วิจัยต้องพยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ควบคุมด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างควบคุมโดยวิธีการทางสถิติหรือ ผู้วิจัยอาจนำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษาเป็นตัวแปรอิสระอีกตัวแปรหนึ่งไปเลย ตัวอย่าง 1) สถานการณ์: ครูคนหนึ่งมีความสนใจจะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นม.1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปและแบบธรรมดามีผลแตกต่างกันหรือไม่ ตัวแปรต้น คือ วิธีสอน ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ตัวแปรแทรกซ้อน ที่น่าจะต้องควบคุม คือการเรียนพิเศษการศึกษาเพิ่มเติมพื้นฐานของนักเรียน 2) จุดมุ่งหมายการวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบความถนัดด้านเครื่องจักรกลระหว่างนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง ตัวแปรต้น คือ เพศของนักเรียน ตัวแปรตาม คือ ความถนัดด้านเครื่องจักรกล ตัวแปรแทรกซ้อน ความตั้งใจเรียน พื้นฐานนักเรียน 3) สมมุติฐานการวิจัย: นักเรียนที่มีผู้ปกครองรับราชการ และนักเรียนที่มีผู้ปกครองประกอบ อาชีพเกษตรกรรมมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำแตกต่างกัน ตัวแปรต้น คือ อาชีพของผู้ปกครอง ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมความเป็นผู้นำ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)