วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่8

ใบงานที่ 8
1. ระดับนามบัญญัติ (nominal scale) เป็นมาตราการวัดที่กำหนดสัญลักษณ์ขึ้นมา เพื่อเรียกหรือจำแนก หรือจัดประเภทสิ่งของตามคุณลักษณะ เช่น เพศ ศาสนา เป็นต้น
2. ระดับเรียงอันดับ (ordinal scale) เป็นมาตราการวัดที่แสดงปริมาณความมากน้อย (magnitude)
3. ระดับอันตรภาค (interval scale) เป็นมาตราการวัดที่มีคุณสมบัติ 2 ประการคือ 1) เป็น ตัวเลขที่แสดงปริมาณมากน้อย (magnitude) 2) ความแตกต่างระหว่างหน่วยเท่ากัน (equal intervals) เช่น การแบ่ง 1 ปีออกเป็น 365 วัน ซึ่งแต่ละวันถือว่ามีหน่วย หรือช่วงระยะเวลาเท่ากัน หรือการแบ่งช่วงการวัดระดับความร้อนออกเป็นองศา เป็นต้น
4. ระดับอัตราส่วน (ratio scale) เป็นมาตราการวัดที่มีคุณสมบัติ 3 ประการคือ 1) เป็นตัวเลขที่แสดงปริมาณมากน้อย(magnitude) 2) ความแตกต่างระหว่างหน่วยแต่ละหน่วยเท่ากัน(equal interval) 3) มีศูนย์แท้ (absolute Zero) ข้อมูลที่จัดอยู่ในมาตรานี้มักเป็นข้อมูลทางกายภาพศาสตร์ (physical Sciences) เช่น สมศรีสูง 160 เนติเมตร แก้วสูง 80 เซ็นติเมตร แสดงว่าสมศรีสูงกว่าแก้ว 80 เซ็นติเมตร หรือสูงเป็น 2 เท่าของแก้ว หรือเก้าอี้สูง 0 เซ็นติเมตรแสดงว่าไม่มีความสูงอยู่เลย
ตัวแปร : Variable มาจากคำว่า vary = ผันแปร เปลี่ยนแปลง able = สามารถ Variable = สิ่งที่สามารถแปรค่าได้ ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชายและเพศหญิง ระดับการศึกษาอาจแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นต้น สิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าไม่ได้ไม่ถือว่าเป็นตัวแปรเช่น คน แมว แต่ถ้าเป็น เชื้อชาติของคน สีของแมว จะกลายเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าได้จึงจะถือว่าเป็นตัวแปร ประเภทของตัวแปร เกณฑ์ในการจำแนกประเภทของตัวแปรมี4 ลักษณะคือ
1. พิจารณาคุณสมบัติของค่าที่แปรออกมาแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ(Quantitative Variables) เป็นตัวแปรที่แตกต่างกันในระหว่างพวกเดียวกันหรือค่าที่แปรออกมาแตกต่างกันออกไปตามความถี่จำนวนปริมาณมากน้อยหรือลำดับที่ เช่น ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาต่อคน ต่อวัน (10,15,20,...(บาท)) 1.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ(Qualitative Variables) เป็นตัวแปร ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันในแง่ของชนิดหรือประเภทโดยใช้ชื่อเป็นภาษาที่แสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในพวกนั้น เช่น อาชีพ (ข้าราชการ ค้าขาย เกษตรกร รับจ้าง) 2. พิจารณาความต่อเนื่องตามธรรมชาติของตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 2.1 ตัวแปรค่าต่อเนื่อง (Continuous Variables) เป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่องกันตลอด เช่น ส่วนสูงน้ำหนัก คะแนนสอบ เป็นต้น
2.2 ตัวแปรค่าไม่ต่อเนื่อง(Discrete Variables) ตัวแปรประเภทนี้มีค่าเฉพาะตัวของมัน แยกออกจากกันเด็ดขาดวัดค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น จำนวนหนังสือ เพศ (ชายแทนด้วย 0, หญิงแทนด้วย 1)เป็นต้น 3. พิจารณาความเป็นไปได้ของผู้วิจัยที่จะจัดกระทำกับตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 3.1 ตัวแปรที่กำหนดได้(Active Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสามารถกำหนดให้กับผู้รับการทดลองได้เช่น วิธีสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การจัดสภาพห้องเรียนและอื่น ๆ เป็นต้น 3.2 ตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้(Attribute of Organismic Variables) เป็นตัวแปรที่ยากจะกำหนดให้ผู้รับการทดลองได้ตัวแปรเหล่านี้เป็นลักษณะของผู้รับการทดลอง เช่น เพศ สภาพเศรษฐกิจ ความถนัดเป็นต้น 4. พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผลเป็นการแบ่งตามลักษณะการใช้เป็นวิธีแบ่งตัวแปรที่นิยมกันมากที่สุดแบ่งเป็น 4.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(Independent Variables) เป็นตัวแปรที่จะทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุตัวแปรที่มาก่อน 4.2 ตัวแปรตาม(Dependent Variables) เป็นตัวแปรที่เป็นผลเป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้น 4.3 ตัวแปรแทรกซ้อน(Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นโดยผู้วิจัยต้องพยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ควบคุมด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างควบคุมโดยวิธีการทางสถิติหรือ ผู้วิจัยอาจนำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษาเป็นตัวแปรอิสระอีกตัวแปรหนึ่งไปเลย ตัวอย่าง 1) สถานการณ์: ครูคนหนึ่งมีความสนใจจะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นม.1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปและแบบธรรมดามีผลแตกต่างกันหรือไม่ ตัวแปรต้น คือ วิธีสอน ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ตัวแปรแทรกซ้อน ที่น่าจะต้องควบคุม คือการเรียนพิเศษการศึกษาเพิ่มเติมพื้นฐานของนักเรียน 2) จุดมุ่งหมายการวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบความถนัดด้านเครื่องจักรกลระหว่างนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง ตัวแปรต้น คือ เพศของนักเรียน ตัวแปรตาม คือ ความถนัดด้านเครื่องจักรกล ตัวแปรแทรกซ้อน ความตั้งใจเรียน พื้นฐานนักเรียน 3) สมมุติฐานการวิจัย: นักเรียนที่มีผู้ปกครองรับราชการ และนักเรียนที่มีผู้ปกครองประกอบ อาชีพเกษตรกรรมมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำแตกต่างกัน ตัวแปรต้น คือ อาชีพของผู้ปกครอง ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมความเป็นผู้นำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น