วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่7


ใบงานครั้งที่ 7
(1) การใส่ปฏิทิน
(2) การใส่นาฬิกา
(3) การทำสไสด์
(4) การปรับแต่งสีใน Webboard
(5) การใส่เพลงลงใน Webboard ให้นักศึกษาสรุปแต่ละประเด็นย่อ ๆ

การใส่ ตกแต่งบล๊อก ด้วยปฏิทิน นาฬิกา สไลด์รูปต่างๆ เปลี่ยนสีในรูปแบบ และเพลงนั้น จำเป็นจะต้องใช้โค้ด(ภาษา HTML) ซึ่งเป็นโค้ดที่ต้องเพิ่มใน Gadget ซึ่งเมนูการเพิ่มจะอยู่ที่
แผงควบคุม ---> รูปแบบ ---> เพิ่ม Gadget ---> เพิ่มจาวา/HTML ---> วางโค้ดของปฎิทิน/นาฬิกา/เพลงที่เราได้คัดลอกมาจากโค้ดที่เราค้นหาโดยใช้ Google ---> แล้วสั่งบันทึก ซึ่งจะกลับมาที่หน้ารูปแบบ--->สั่งบันทึกอีกครั้ง--->จะขึ้นข้อความว่าได้"ได้บันทึกการเปลี่ยนแปลงแล้ว ดูบล๊อก" ---> ซึ่งสามารถดูบล๊อกได้ว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่
สำหรับการค้นหาโค้ด โดยใช้ Google นั้น เมื่อเข้าเว็บ Google แล้วใช้คำค้นหา เช่น โค้ดเพลง/โค้ดปฏิทินแต่งบล๊อก/โค้ดนาฬิกา / โค้ดแต่งบล๊อก /หรือระบุเพลงที่ต้องการ เช่น โค้ดเพลงอวยพรวันเกิด/โค้ดเพลงร๊อก/โค้ดเพลง(ชื่อเพลง)
เมื่อได้หน้าเว็บGoogle ที่ขึ้นผลการค้นหาแล้ว เลือกเปิดลิงค์ต่าง ๆ ก็จะได้หน้าเว็บ


บางเว็บอาจต้องดาวน์โหลดโค้ด บางเว็บก็ copy โค้ดได้เลย
เมื่อได้โค้ดแล้ว select code แล้วนำไปวางใน Gadget ที่ได้สั่งเพิ่ม HTML/จาวาสคริปต์

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานชิ้นที่ 6

ใบงานครั้งที่ 6
ประโยชน์ของ Google
ประโยชน์ของ Google สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ตามความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้
1. บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา(Search Engines) Google Web Search Features ประกอบด้วยบริการค้นหาต่อไปนี้
•Book Search : บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ
•Cached Links :บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่คุณต้องการจะค้นหา
• Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่คุณสามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้เลย
• Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา
•Definitions : หมวดคำศัพท์ที่คุณสามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
•File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก
•Groups : ถ้าหากว่าคุณอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้
• I ‘m Feeling Lucky : ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป
•Images : ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ
•Local Search : บริการค้นหาธุรกิจและบริการต่าง ๆ ที่เปิดในสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา
• Movie : คุณสามารถเข้าไปดูรีวิวภาพยนตร์หรือว่าตารางโปรแกรมฉายแบบเรียลไทม์ได้จากฟีเจอร์นี้
•Music Search : ดัชนีค้นหาเพลงหรือว่าดนตรีที่มีให้บริการฟังเพลงออนไลน์หรือว่าดาวน์โหลดเพลงจากทั่วโลก
•News Headlines : บริการที่ทำให้คุณสารารถรู้ข้อมูลข่าวสารทันในที่ส่งมาจากรอบโลกแบบเรียลไทม์
•PhoneBook : บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์และเลขที่บนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา
•Q&A : บริการใหม่ที่คุณอยากรู้อะไรเกี่ยวกับ Google บริการนี้ตอบปัญหาให้คุณได้ทุกเรื่อง
•Similar Pages : บริการแสดงหน้าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง
•Site Search : กำหนดขอบเขตของการค้นหาเว็บไซต์ให้แคบลง
•Spell Checker : เครื่องมือช่วยในการสะกดคำ
•Stock Quotes : ดัชนีค้นหาสำหรับราคาหุ้นแบบเรียลไทม์
•Travel Information : บริการตรวจสอบสายการบินในสหรัฐ รวมถึงรายงานสภาพอากาศของสนามบิน
• Weather : บริการตรวจสอบสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศในทุกรัฐของสหรัฐ
•Web Page Translation : บริการแปลหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น ๆ

2. บริการในกลุ่ม Google Services
•Answer : บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์ บริการตอบคำถามให้กับคุณได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน
•Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog Catalogs : ในประเด็นที่คุณสนใจ บริการค้นหารายการสินค้าที่คุณสนใจและต้องการจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์
• Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์
•Labs : บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม
Mobile : บริการหลักของ Google ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS
News : บริการรายงานข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ จากทั่วทุกมุมโลกที่มีให้คุณได้อ่านก่อนใคร
Scholar : บริการค้นหาเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ รวมทั้งบทคัดย่อจากห้องสมุดใหญ่ ๆ มากมาย
• Special Searches : บริการค้นหาประเด็นสาธารณะในส่วนที่เป็นองค์กร หรือว่าสถาบันที่ไม่หวังผลกำไรต่างๆ รวมถึงบริการค้นหาเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดในเรื่องของหลักสูตรการสอนและระเบียบวิธีการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
•Video : บริการค้นหารายการทีวีทางโทรทัศน์ เกมโชว์ มิวสิควิดีโอ ที่คุณสามารถเช่าชั่วโมงมาดูกันแบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ

3. บริการในกลุ่ม Google Tools
Blogger : เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger ของคุณเอง
Code : เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code
Desktop : เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
Earth : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม
Gmail : บริการอีเมล์รุ่นทดสอบของ Google ที่มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์
Pack : ชุดเครื่องมือรวมฮิตของ Google รวมถึงบราวเซอร์สุดเก่ง Firetox Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
Local for Mobile : เครื่องมือสำหรับค้นหาแผนที่ของสถานที่ต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ
Talk : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถพูดคุย ส่งอีเมล์• กับเพื่อนของคุณแบบเรียลไทม์ออนไลน์
Toobar : กล่องเครื่องมือที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google
Translate : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถดูเว็บไซต์ได้หลาย ๆ ภาษา
Labs : กลุ่มของชุดเครื่องมือใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดลองดาวน์โหลดได้ฟรี

ที่มา:http://learners.in.th/blog/meaw-3/116386

เว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูล
1. www.yahoo.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลในการค้นหาอย่างมากมายและผู้ใช้มากถึง 200,000 คนต่อวัน
2. www.looksmart.com เว็บไซต์ที่เก็บรายชื่อของเว็บไซต์ต่างๆ ไว้มากมาย 1,000,000 เว็บไซต์
3. www.snap.com เว็บไซต์ที่มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
4. www.sanook.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูล เว็บไซต์ยอดนิยมของไทย
5. www.108-109.com เว็บไซต์ที่มากกว่า 4,000 ลิงค์ และยังมีชื่อที่อยู่เบอร์ icq ในประเทศ
6. www.pattayadirectory.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัทยาได้ครบที่สุด
7. www.siaminside.com เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่โดยเฉพาะ
8. www.thaiall.com เว็บไซต์ที่มีอยู่มากมาย บริการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม
9. www.thaitop.com หนึ่งในเว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูลตามหวมดหมู่ที่สมบูรณ์ของไทย
10. www.i-kool.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์อีกเว็บหนึ่งของไทย
เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบเครื่องจักรค้นหา Search Enging ได้แก่
1. www.altavista.com เครื่องจักรค้นหายอดนิยม อันดับต้นๆ
2. www.Excite.com การหาข้อมูล ข้อความที่หาความสัมพันธ์กับกลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3. www.infoseek.com เว็บไซต์เพื่อค้นหาข้อมูลที่มีรายละเอียดของเว็บต่างๆ ถึง 30 ล้านเว็บไซต์
4. www.lycos.com เครื่องจักรค้นหาที่ได้รับความนิยมเท่ากับ yahoo.com
5. www.hotbot.com เว็บไซต์ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่
6 . www.thaiseek.com เครื่องจักรค้นหาและรวมไดเร็คทรอรี่ของไทย
7 . www.madoo.com/search/ เว็บไซต์ที่รวบรวมเว็บไซต์ที่เป็น Search Enging เอาไว้
8 . www.siamguru.com เว็บไซต์ใหม่ที่กำลังมาแรง ในการค้นหาแบบ เครื่องจักรค้นหา
9 . www.asialycos.co.th เว็บไซต์เครื่องจักรค้นหาที่ทำเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ

............................................................................................

ใบงานที่2

งานชิ้นที่ 2
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนวัดบ้านใหม่บน
สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80140

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา

ปัจจุบันจัดได้ว่า เป็นสังคมแห่งยุคข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้นระบบสารสนเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน และประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังสามารถเป็นเครื่องชี้นำในการดำเนินงานต่างๆได้ตามวัตถุประสงค์ สารสนเทศที่มีคุณภาพ ควรมีคุณสมบัติคือ ถูกต้อง ตรงตามต้องการและทันใช้งาน ( เกรียงศักดิ์ แพรวศรี , 2544 : 3-4 )
สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 5 ด้านคือ
- สารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
- สารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน
- สารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
- สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
- สารสนเทศเพื่อการรายงาน
สารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วย ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน กิจกรรมประจำวันของสถานศึกษา
ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน รายงานความประพฤติ ฯลฯ
ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตร และการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การพัฒนากิจกรรมแนะแนว และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ สารสนเทศประเภทนี้ ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัย เช่น งานธุรการ งานการเงิน งานบุคลากร งานกิจกรรม งานอาคารสถานที่ เป็นต้น
ระบบสารสนเทศเพื่อการรายงาน สารสนเทศส่วนนี้เป็นการนำข้อมูลและสารสนเทศทั้ง 4 ส่วนข้างต้นมาสรุปเป็นภาพรวม เพื่อรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีต่อ
วิสัยทัศน์ (VISION)
จัดส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เน้นคุณธรรม จริยธรรม เต็มตามศักยภาพ
พันธกิจ ( Mission )
1. จัดส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประชากรวัยเรียนอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ โดยการประสานความร่วมมือกันทุกภาคส่วนของสังคม
2. พัฒนาบุคลากรและกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนด้านการบริหาร การนิเทศ การวัดผลประเมินผล ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ประสิทธิภาพเต็มตามศักยภาพ
3. ยกระดับความสามารถของผู้เรียน ให้เต็มตามศักยภาพ ได้มาตรฐาน
กลยุทธ์ ( STRATEGIC ISSUES )
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ สร้างความตระหนักในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี มีสุนทรียภาพ มีลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริม และ พัฒนาครู ให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริม และพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนางานวิชาการและส่งเสริม คุณภาพผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ กลยุทธ์ที่ 8 พัฒนาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถานศึกษาเพื่อให้อื้อต่อการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 9 พัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้

บริบทของสถานศึกษา


โรงเรียนวัดบ้านใหม่บน ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัย ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีบุคลากรสายบริหารจำนวน 1 คน สายครูผู้สอน จำนวน 5 คน ลูกจ้างประจำจำนวน 1 คน ได้ผ่านการประเมินจากองค์กรภายนอกรอบสองเมื่อวันที่ 7 – 9 มกราคม 2551 โรงเรียนการจัดการศึกษา 2 ระดับดังนี้
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาปฐมวัยมีบุคลากรครูจำนวน 1 คน มีนักเรียน 12 คน
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษามีบุคลากรครู จำนวน 4 คน มีนักเรียนจำนวน 27 คน รวมทั้งสถานศึกษา มีบุคลากรครูสายผู้สอนจำนวน 5 คน มีนักเรียนจำนวน 39 คน
สภาพทั่วไป
โรงเรียนวัดบ้านใหม่บนตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบล บ้านใหม่บน อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนก่อตั้ง วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา ประมาณ 76 ปี การจัดการศึกษา2 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา มี 2 ห้องเรียน ระดับประถม มี 2 ช่วงชั้น ช่วงชั้นที่ 1 มี 3 ห้องเรียน และช่วงชั้นที่ 2 มี 3ห้องเรียนดังแผนภูมิโครงสร้าง
ข้อมูลนักเรียน ปีการศึกษา 2552 (ระหว่าง 16 พฤษภาคม 2551 - 15 พฤษภาคม 2552) จำนวนนักเรียนในสถานศึกษาทั้งหมด 39 คน





สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน
ชุมชนในเขตบริการของสถานศึกษา คือ หมู่ที่ 8 ชื่อบ้านใหม่ อยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ มีประชากรประมาณ 418 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ การประกอบอาชีพที่สำคัญ คือเกษตรกรรม ร้อยละ 70 นอกจากนั้นอาชีพรับราชการ รับจ้าง ขายของชำ มีรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปีประมาณ 24,000 บาท สภาพทั่วไปของขุมชนเป็นแบบชุมชนชนบท ที่มีประชากรและที่อยู่อาศัยกระจายไปในพื้นที่ มีเส้นทางการคมนาคมสะดวกพอประมาณการได้รับ ริการด้านสาธารณูปโภค สาธารณะสุขและการศึกษาอยู่ในระดับพอใช้ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรอยู่ในสภาพฐานะยากจน ความเข็มแข็งของชุมชนได้แก่ในเรื่องความสามัคคี ความเอื้ออาทรอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง และสิ่งที่ต้องการของชุมชนคือ แหล่งน้ำทำการเกษตรและน้ำดื่มน้ำใช้
ความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับชุมชนอยู่ในสภาพดี มีความร่วมมือ ช่วยเหลือที่สถานศึกษาได้รับจากชุมชนคือ แรงงานในการพัฒนาและร่วมกิจกรรม บริจาคสิ่งของในการจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นวิทยากรให้ความรู้ เป็นที่ปรึกษา และส่วนที่ชุมชนได้รับจากสถานศึกษา คือการใช้อาคารสถานที่ อุปกรณ์กีฬา วิทยากร สิ่งที่จำกัด ของสถานศึกษากับความร่วมมือจากชุมชนคือ ความยากจน ซึ่งชุมชนต้องมุ่งประกอบอาชีพเพื่อความอยู่รอด ของตนเองแทบไม่คอยมีเวลาเอาใจใส่ต่อการศึกษาของบุตรหลาน
โอกาสและข้อจำกัดของสถานศึกษา
โอกาสและวิธีการจัดการศึกษา
สถานศึกษาอยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ เช่น วัด อนามัยชุมชนมีความสัมพันธ์กับโรงเรียนดีมากมีส่วนรวมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมบุตรหลานเรียนชั้นสูง ๆ ตามศักยภาพ ในชุมชนมีการร่วมกลุ่มจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน อาชีพส่วนใหญ่เป็นแบบอาชีพ พอมี พอกินการประกอบอาชีพมีทรัพยากรธรรมชาติ คือ ที่ดินใช้ประกอบอาชีพ เป็นพื้นราบ มีปุ๋ยอินทรีย์มากเหมาะสำหรับเพาะปลูก สิ่งแวดล้อม มีอากาสบริสุทธ์ ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม ไม่มีแหล่งเสื่อมโทรม
ข้อจำกัดและวิธีการป้องปราม/ปรับปรุง
1. ในชุมชนมีการเล่นการพนัน
2. ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีรายได้น้อย
3. นักเรียนอาศัยอยู่กับ ปู่ ย่า ตา และยาย



ทิศทางการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นการวางแผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายของสถานศึกษา ของเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนของชาติ ซึ่งควรมีนโยบายดังต่อไปนี้

นโยบาย ( POLICY )
นโยบายข้อที่ 1 การเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัย เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยความร่วมมือ ของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทุกหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้เด็กปฐมวัยกลุ่มอายุ 4 – 5 ปี ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ จะให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือทุกด้าน ทุกหน่วยงาน ที่จัดการศึกษากับเด็กกลุ่ม อายุ 3 – 5 ปีในพื้นที่บริการ
นโยบายข้อที่ 2 การจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กอายุอย่างเข้าปีที่เจ็ดถึงอย่างเข้าปีที่สิบหก มีโอกาสได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยใช้ทรัพยากรร่วมกับหน่วยงานอื่น ให้ความสำคัญกับเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิเศษ ทุกประเภท รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมเด็กผู้ที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน ให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ
นโยบายข้อที่ 3 ส่งเสริมผู้ที่จบการศึกษาภาคบังคับให้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนรณรงค์ให้ผู้ที่จบการศึกษาภาคบังคับ ให้ได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยทั่วถึง
นโยบายข้อที่ 4 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาศึกษา ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าหมาย คุณละกษณะอันพึงประสงค์ เป็นไปตามสภาพของขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและความต้องการของท้องถิ่น เป็นการสร้างความเข้าใจหลักสูตร และติดตามการประเมินผล การใช้หลักสูตร ตลอดจนสร้างระบบการช่วยเหลือการพัฒนาหลักสูตร
นโยบายข้อที่ 5 การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และพัฒนาครู เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้และประสิทธิภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา และพัฒนาครูด้านเทคนิคกระบวนการโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
นโยบายข้อที่ 6 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งเสริมสนับสนุนการจัดและพัฒนาระบบดูแลนักเรียนในสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นดูแล ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
นโยบายข้อที่ 7 การประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเร่งรัดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยเฉพาะชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานการศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
นโยบายข้อที่ 8 เพิ่มความเข็มแข็งและประสิทธิภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร การจัดการตามโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ยกระดับและและเริ่มจัดงานทุกกลุ่มงานภายในสถานศึกษา จัดระบบการบริหารภายในให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมให้เกิดประสิทธิภาพ
นโยบายข้อที่ 9 จัดระบบข้อมูล สารสนเทศและระบบเครือข่ายเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่าย เพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา

ใบงานที่ 4

ใบงานที่ 4

การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่ บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาองค์กร

ที่มา http://www.industry.go.th/km/Lists/KM/KM.aspx

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ที่มา http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html

แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สามารถ ค้นคว้า สืบค้น เรียนรู้ ข้อมูลต่างๆแต่ละประเภทตามที่เราต้องการและอยู่ในรูปลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ตามที่แหล่งข้อมูลนั้นๆจะนำเสนออกมายิ่งในปัจจุบันจะมีรูปแบบในการนำเสนอ ที่หลากหลายมาก จนเราตามไม่ทันและมีข้อมูล
มากมายมหาศาล ให้เราได้เรียนรู้ สืบค้น ค้นคว้า มาใช้ในการเรียนและงานต่างๆ มากมาย
ตัวอย่างแหล่งข้อมูล ที่มีในปัจจุบัน
1. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2. ซีดี วีซีดี ดีวีดี วีดีโอ ภาพยนต์
3. สถานที่ต่างๆ ห้องสมุด โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว
4. เทคโนโลยีต่างๆ ทีวี วิทยุ ระบบอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม

ที่มา http://www.ketkwanchai.info/ebook2/f6.htm

เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

ที่มา http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่นำมาสรุปประมวลผล ดำเนินการทางสถิติ เปรียบเทียบหรือดำเนินการโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับได้เข้าใจความเป็นไปหรือสถานการณ์ของสิ่งที่มีสารสนเทศนั้นเป็นตัวแทน

ที่มา http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page13004.asp

ใบงานที่1

ใบงานครั้งที่ 1
อธิบายความหมายคำสำคัญดังต่อไปนี้ พร้อมกับยกตัวอย่าง
การจัดการ/การบริหาร
การจัดการ หมายถึง การดำเนินงานหรือการปฏิบัติงานที่หน่วยงานและบุคลากรของหน่วยงานนำมาใช้เพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์หรือปลายทางที่ได้กำหนดไว้ คำนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับหน่วยงานและบุคลากรของภาคเอกชน แต่ทุกวันนี้ได้มีการนำคำนี้มาปรับใช้ในการบริหารภาครัฐด้วย
การบริหาร หมายถึง การดำเนินงานหรือการปฏิบัติงานที่หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐนำมาใช้เพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์หรือปลายทางที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ คำว่า การบริหาร เป็นคำที่นิยมนำไปใช้ในการบริหารภาครัฐโดยหน่วยของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริหารนำไปใช้อย่างกว้างขวางอย่างน้อยใน 6 หน่วยงานซึ่งจัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหน่วยงานได้แก่ การบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคธุรกิจ หน่วยงานที่ไม่สังกัดภาครัฐ หน่วยงานระหว่างประเทศ หน่วยงานที่เรียกว่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานภาคประชาชน
นวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูล
ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ต่างๆ ธรรมชาติทั่วไปล้วนแล้วแต่มีข้อมูลในตนเอง ทำให้เรารู้ความเป็นมา ความสำคัญ และ
ประโยชน์ของสิ่งเหล่านั้น ดังนั้นข้อมูลของทุกๆ สิ่งจึงมีความสำคัญมาก
สารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว เช่น ข้อมูลจากการขาย ข้อมูลนักเรียน หากมีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบจะทำให้การตรวจสอบเป็นไปได้โดยง่ายและถูกต้อง แต่เมื่อไร่ที่นำข้อมูลมาประมวลผลจะได้ผลที่เรียกว่า “สารสนเทศ”


ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์
มาช่วยในการรวบรวมจัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดีสามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนา
ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร เช่น ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน ระบบสารสนเทศเอกสาร ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
การสื่อสาร
การสื่อสารหมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ความคิด อารมณ์ ทักษะ ฯลฯ ด้วยการใช้สัญญลักษณ์ เช่นคำพูด รูปภาพ ตัวเลข กราฟ ฯลฯ การกระทำหรือกระบวนการในการถ่ายทอด เช่น การสื่อสารภายในบุคคล การสื่อระหว่างบุคคล การสื่อสารภายในกลุ่ม การสื่อสารมวลชล
เครือข่าย
เครือข่าย หมายถึง รูปแบบของการประสานงานกลุ่มของคนหรือองค์กรที่สมัครใจแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกัน โดยการติดต่ออาจทำได้ทั้งที่ผ่านศูนย์กลางแม่ข่ายหรือแกนนำ หรืออาจจะไม่มีแม่ข่ายหรือแกนนำแต่จะทำการติดต่อโดยตรงระหว่างกลุ่ม ซึ่งจะมีการจัดรูปแบบหรือจัดระเบียบโครงสร้างที่คนหรือองค์กรสมาชิกยังคงมีความเป็นอิสระ โดยที่อาจมีรูปแบบการรวมตัวแบบหลวมๆ เฉพาะกิจ ตามความจำเป็นหรือเป็นโครงสร้างที่มีความสัมพันธ์ชัดเจน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ขอมูล และการสื่อสาร นับตั้งแตการสราง การนํามาวิเคราะหหรือประมวลผลการรับและสงขอมูล การจัดเก็บ และการนําไปใชงานใหม เทคโนโลยีเหลานี้ มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร ซึ่งประกอบดวยสวนอุปกรณ (hardware) สวนคําสั่ง (software) และสวนขอมูล (data) และระบบการสื่อสารตางๆ ไมวาจะเปนโทรศัพท์ ระบบสื่อสารขอมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งมีสายและไรสาย
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกัน สำ หรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล และมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้ โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทำ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์สำ หรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การสื่อสาร (communication) หมายถึง กระบวนการ - ถ่ายทอดสารระหว่างมนุษย์ โดยผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า "ภาษา" เพื่อติดต่อกัน ด้วยวิธีการต่างๆ อันจะส่งผลให้ฝ่ายผู้ส่งสารและผู้รับสารเกิดความเข้าใจได้ตรงกัน เช่น การถ่ายทอดความรู้สึก -นึกคิด การบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น แต่ละบุคคลอาจนำวิธีการหรือมีกระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมหรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร

ความหมายของเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา
ความหมายของเทคโนโลย
เทคโน หมายถึง วิธีการ โลยี หมายถึง วิทยา หรือวิชาความรู้
เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาแนวคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ และระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ความหมายเทคโนโลยีทางการศึกษา
Techno มาจากภาษากรีกว่า Techno logia หมายถึง ศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือทักษะ(art science or skill) และมาจากภาษาลาตินว่า Texere หมายถึงการสานหรือการสร้าง (กิดานันท์
มลิทอง, 2540) โดยมีผู้นักวิชาการให้คำนิยามของคำว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ไว้แตกต่างกันหลายมิติ ดังนี้
Good C. (1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ
Gane and Briggs (1974) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาจากการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมศาสตร์ ทฤษฎีการเรียนรู้ เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ และความสนใจในเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
AECT (1977) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน เป็นกระบวนการบูรณาการที่เกี่ยวกับมนุษย์ วิธีดำเนินการ แนวคิด เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดวิธีการนำไปใช้ การประเมินและการจัดแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งมวลของมนุษย์
กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาแนวคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุ อุปกรณ์ การจัดระบบสารสนเทศ และสิ่งต่าง ๆ มาใช้ในการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2545) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือการศึกษา เป็นเรื่องของระบบในการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน
จากพจนานุกรมศัพท์ทางการศึกษาได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่าเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและประสานสัมพันธ์อย่างมีบูรณาการ ระหว่างบุคคล วิธีการ เครื่องมือ และการจัดระบบองค์การสำหรับวิเคราะห์ปัญหา วิธีแก้ปัญหา ดำเนินการประเมินผล และการจัดการแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทุกลักษณะของการเรียนรู้ (สุวิทย์ และคณะ, 2540)
Heinic, Molenda and Russel (2000) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ให้ปฎิบัติได้ในรูปแบบของการเรียนการสอน อีกนัยหนึ่งก็คือ การให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์(ทั้งด้านยุทธวิธี และด้านเทคนิค) เพื่อแก้ปัญหาทางการสอน เป็นความพยายามสร้างการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยออกแบบ ดำเนินการและการประเมินผลการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยในการเรียนและการสื่อสาร
จากความหมายต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และศาสตร์ทางการศึกษา มาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาทางการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน โดยแต่ละส่วนของกระบวนการมีความเป็นบูรณาการไม่ได้แยกเป็นอิสระจากกัน ทำให้นิยามของเทคโนโลยีทางการศึกษามีจุดเริ่มต้นจาก สอง แนวความคิด ดังนี้ (ชัยยงค์, 2545 : 12-13)
http://pirun.ku.ac.th/~g4786022/page/Paper/Concept.doc

ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร (communication) หมายถึง กระบวนการ - ถ่ายทอดสารระหว่างมนุษย์ โดยผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า "ภาษา" เพื่อติดต่อกัน ด้วยวิธีการต่างๆ อันจะส่งผลให้ฝ่ายผู้ส่งสารและผู้รับสารเกิดความเข้าใจได้ตรงกัน เช่น การถ่ายทอดความรู้สึก -นึกคิด การบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น แต่ละบุคคลอาจนำวิธีการหรือมีกระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมหรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
หมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน มากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิค การสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษา ด้วยตนเอง

วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517 : 120 - 121)
เป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน
Gagne and Briggs (1974 : 210 - 211)
เทคโนโลยีนั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ โดยรวมถึง
1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบโปรแกรมและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นต้น
2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner)
3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่าง ๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย

Coley ,Cradler and Engel (1996)
ในความหมายอย่างกว้าง ๆ แล้ว เทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นคำซึ่งรวมถึงทรัพยากรใด ๆ ก็ตามที่ใช้ในการให้ การศึกษาแก่ผู้เรียน โดยอาจรวมถึงวิธีการ เครื่องมือหรือกระบวนการ หากเป็นในเชิงปฎิบัติแล้วคำนี้จะใช้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ฟิล์มสตริป เครื่องฉายสไลด์ เทปเสียง โทรทัศน์ และห้องปฏิบัติการทางภาษา เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ และในปัจจุบันจะเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารควบคู่กับคอมพิวเตอร์ จึงสรุปได้ว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" เป็นคำที่ใช้หมายถึงการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมในแต่ละยุค