งานชิ้นที่ 2
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนวัดบ้านใหม่บน
สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80140
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
ปัจจุบันจัดได้ว่า เป็นสังคมแห่งยุคข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้นระบบสารสนเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน และประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังสามารถเป็นเครื่องชี้นำในการดำเนินงานต่างๆได้ตามวัตถุประสงค์ สารสนเทศที่มีคุณภาพ ควรมีคุณสมบัติคือ ถูกต้อง ตรงตามต้องการและทันใช้งาน ( เกรียงศักดิ์ แพรวศรี , 2544 : 3-4 )
สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 5 ด้านคือ
- สารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
- สารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน
- สารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
- สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
- สารสนเทศเพื่อการรายงาน
สารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วย ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน กิจกรรมประจำวันของสถานศึกษา
ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน รายงานความประพฤติ ฯลฯ
ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตร และการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การพัฒนากิจกรรมแนะแนว และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ สารสนเทศประเภทนี้ ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัย เช่น งานธุรการ งานการเงิน งานบุคลากร งานกิจกรรม งานอาคารสถานที่ เป็นต้น
ระบบสารสนเทศเพื่อการรายงาน สารสนเทศส่วนนี้เป็นการนำข้อมูลและสารสนเทศทั้ง 4 ส่วนข้างต้นมาสรุปเป็นภาพรวม เพื่อรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีต่อ
วิสัยทัศน์ (VISION)
จัดส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เน้นคุณธรรม จริยธรรม เต็มตามศักยภาพ
พันธกิจ ( Mission )
1. จัดส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประชากรวัยเรียนอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ โดยการประสานความร่วมมือกันทุกภาคส่วนของสังคม
2. พัฒนาบุคลากรและกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนด้านการบริหาร การนิเทศ การวัดผลประเมินผล ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ประสิทธิภาพเต็มตามศักยภาพ
3. ยกระดับความสามารถของผู้เรียน ให้เต็มตามศักยภาพ ได้มาตรฐาน
กลยุทธ์ ( STRATEGIC ISSUES )
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ สร้างความตระหนักในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี มีสุนทรียภาพ มีลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริม และ พัฒนาครู ให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริม และพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนางานวิชาการและส่งเสริม คุณภาพผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ กลยุทธ์ที่ 8 พัฒนาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถานศึกษาเพื่อให้อื้อต่อการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 9 พัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
บริบทของสถานศึกษา
โรงเรียนวัดบ้านใหม่บน ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัย ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีบุคลากรสายบริหารจำนวน 1 คน สายครูผู้สอน จำนวน 5 คน ลูกจ้างประจำจำนวน 1 คน ได้ผ่านการประเมินจากองค์กรภายนอกรอบสองเมื่อวันที่ 7 – 9 มกราคม 2551 โรงเรียนการจัดการศึกษา 2 ระดับดังนี้
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาปฐมวัยมีบุคลากรครูจำนวน 1 คน มีนักเรียน 12 คน
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษามีบุคลากรครู จำนวน 4 คน มีนักเรียนจำนวน 27 คน รวมทั้งสถานศึกษา มีบุคลากรครูสายผู้สอนจำนวน 5 คน มีนักเรียนจำนวน 39 คน
สภาพทั่วไป
โรงเรียนวัดบ้านใหม่บนตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบล บ้านใหม่บน อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนก่อตั้ง วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา ประมาณ 76 ปี การจัดการศึกษา2 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา มี 2 ห้องเรียน ระดับประถม มี 2 ช่วงชั้น ช่วงชั้นที่ 1 มี 3 ห้องเรียน และช่วงชั้นที่ 2 มี 3ห้องเรียนดังแผนภูมิโครงสร้าง
ข้อมูลนักเรียน ปีการศึกษา 2552 (ระหว่าง 16 พฤษภาคม 2551 - 15 พฤษภาคม 2552) จำนวนนักเรียนในสถานศึกษาทั้งหมด 39 คน
สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน
ชุมชนในเขตบริการของสถานศึกษา คือ หมู่ที่ 8 ชื่อบ้านใหม่ อยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ มีประชากรประมาณ 418 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ การประกอบอาชีพที่สำคัญ คือเกษตรกรรม ร้อยละ 70 นอกจากนั้นอาชีพรับราชการ รับจ้าง ขายของชำ มีรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปีประมาณ 24,000 บาท สภาพทั่วไปของขุมชนเป็นแบบชุมชนชนบท ที่มีประชากรและที่อยู่อาศัยกระจายไปในพื้นที่ มีเส้นทางการคมนาคมสะดวกพอประมาณการได้รับ ริการด้านสาธารณูปโภค สาธารณะสุขและการศึกษาอยู่ในระดับพอใช้ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรอยู่ในสภาพฐานะยากจน ความเข็มแข็งของชุมชนได้แก่ในเรื่องความสามัคคี ความเอื้ออาทรอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง และสิ่งที่ต้องการของชุมชนคือ แหล่งน้ำทำการเกษตรและน้ำดื่มน้ำใช้
ความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับชุมชนอยู่ในสภาพดี มีความร่วมมือ ช่วยเหลือที่สถานศึกษาได้รับจากชุมชนคือ แรงงานในการพัฒนาและร่วมกิจกรรม บริจาคสิ่งของในการจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นวิทยากรให้ความรู้ เป็นที่ปรึกษา และส่วนที่ชุมชนได้รับจากสถานศึกษา คือการใช้อาคารสถานที่ อุปกรณ์กีฬา วิทยากร สิ่งที่จำกัด ของสถานศึกษากับความร่วมมือจากชุมชนคือ ความยากจน ซึ่งชุมชนต้องมุ่งประกอบอาชีพเพื่อความอยู่รอด ของตนเองแทบไม่คอยมีเวลาเอาใจใส่ต่อการศึกษาของบุตรหลาน
โอกาสและข้อจำกัดของสถานศึกษา
โอกาสและวิธีการจัดการศึกษา
สถานศึกษาอยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ เช่น วัด อนามัยชุมชนมีความสัมพันธ์กับโรงเรียนดีมากมีส่วนรวมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมบุตรหลานเรียนชั้นสูง ๆ ตามศักยภาพ ในชุมชนมีการร่วมกลุ่มจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน อาชีพส่วนใหญ่เป็นแบบอาชีพ พอมี พอกินการประกอบอาชีพมีทรัพยากรธรรมชาติ คือ ที่ดินใช้ประกอบอาชีพ เป็นพื้นราบ มีปุ๋ยอินทรีย์มากเหมาะสำหรับเพาะปลูก สิ่งแวดล้อม มีอากาสบริสุทธ์ ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม ไม่มีแหล่งเสื่อมโทรม
ข้อจำกัดและวิธีการป้องปราม/ปรับปรุง
1. ในชุมชนมีการเล่นการพนัน
2. ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีรายได้น้อย
3. นักเรียนอาศัยอยู่กับ ปู่ ย่า ตา และยาย
ทิศทางการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นการวางแผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายของสถานศึกษา ของเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนของชาติ ซึ่งควรมีนโยบายดังต่อไปนี้
นโยบาย ( POLICY )
นโยบายข้อที่ 1 การเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัย เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยความร่วมมือ ของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทุกหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้เด็กปฐมวัยกลุ่มอายุ 4 – 5 ปี ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ จะให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือทุกด้าน ทุกหน่วยงาน ที่จัดการศึกษากับเด็กกลุ่ม อายุ 3 – 5 ปีในพื้นที่บริการ
นโยบายข้อที่ 2 การจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กอายุอย่างเข้าปีที่เจ็ดถึงอย่างเข้าปีที่สิบหก มีโอกาสได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยใช้ทรัพยากรร่วมกับหน่วยงานอื่น ให้ความสำคัญกับเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิเศษ ทุกประเภท รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมเด็กผู้ที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน ให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ
นโยบายข้อที่ 3 ส่งเสริมผู้ที่จบการศึกษาภาคบังคับให้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนรณรงค์ให้ผู้ที่จบการศึกษาภาคบังคับ ให้ได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยทั่วถึง
นโยบายข้อที่ 4 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาศึกษา ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าหมาย คุณละกษณะอันพึงประสงค์ เป็นไปตามสภาพของขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและความต้องการของท้องถิ่น เป็นการสร้างความเข้าใจหลักสูตร และติดตามการประเมินผล การใช้หลักสูตร ตลอดจนสร้างระบบการช่วยเหลือการพัฒนาหลักสูตร
นโยบายข้อที่ 5 การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และพัฒนาครู เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้และประสิทธิภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา และพัฒนาครูด้านเทคนิคกระบวนการโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
นโยบายข้อที่ 6 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งเสริมสนับสนุนการจัดและพัฒนาระบบดูแลนักเรียนในสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นดูแล ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
นโยบายข้อที่ 7 การประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเร่งรัดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยเฉพาะชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานการศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
นโยบายข้อที่ 8 เพิ่มความเข็มแข็งและประสิทธิภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร การจัดการตามโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ยกระดับและและเริ่มจัดงานทุกกลุ่มงานภายในสถานศึกษา จัดระบบการบริหารภายในให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมให้เกิดประสิทธิภาพ
นโยบายข้อที่ 9 จัดระบบข้อมูล สารสนเทศและระบบเครือข่ายเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่าย เพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น