วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่13

ขอนำเสนอผลการศึกษาดูงานที่โรงเรียนพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ แทน

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน

ภายในปีการศึกษา 2554 นักเรียนโรงเรียนอนุบาลพยุหะคีรี มีศักยภาพในการเรียนรู้ตามเกณฑ์มาตรฐาน สร้างองค์ความรู้ คู่คุณธรรม ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รักษ์สิ่งแวดล้อม มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย...
ผลงานที่ภาคภูมิใจ

l โรงเรียนในโครงการ เยาวชนร่วมใจ ลดน้ำเสีย เพิ่มน้ำใส ให้เจ้าพระยา
l งานวิจัย BSC คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นำเสนอที่ Bitec บางนา
การนำการบริหารแบบสมดุล(Balanced Scorecard) สู่โรงเรียน

Balanced Scorecard เป็นผลงานวิจัยของ P.Norton & Robert S. Kaplan เมื่อปี ค.ศ.1990 เพื่อแสวงหา วิธีการวัดผลงานขององค์กร
l หลักการ แนวคิด ของ Balanced Scorecard เครื่องมือทางด้านการบริหารที่ช่วยแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ(Strategic Implementation) โดยกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ และแนวทางการบรรลุวัตถุประสงค์ของเป้าหมาย ตลอดจนการติดตาม ตรวจสอบ การควบคุมกลยุทธ์ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
4 มุมมอง ตามหลักการบริหาร Balanced Scorecard

1. มุมมองด้านนักเรียน
ประหยัด อดออม ตามแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียง(Student Perspective) ประกอบด้วยวัตถุประสงค์
กลยุทธ์...ดังนี้
1. นักเรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐาน
2. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีความรับผิดชอบ
3. นักเรียนมีสุขภาพกายตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีสุขภาพจิตที่ดี (S3)
2. มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Perspective) ประกอบด้วยวัตถุประสงค์กลยุทธ์...ดังนี้
1. โรงเรียนมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ตามหลักการของ SBM
2. โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง
3. โรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรที่เหมาะสม
3. มุมมองด้านการเรียนรู้ และการพัฒนา (Learning & Developing Perspective) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์กลยุทธ์...ดังนี้
1. โรงเรียนมีครูที่เป็นครูมืออาชีพ
2. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
3. โรงเรียนมีการแสวงหาความรู้จากองค์กรภายนอกและชุมชนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่
4. โรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและการปฏิบัติงานที่เชื่อถือได้
4. มุมมองด้านงบประมาณ และทรัพยากร(Budget & Resource Perspective) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์กลยุทธ์ ...ดังนี้
1. การระดมทรัพยากรจากชุมชน เพื่อการพัฒนาการศึกษา
2. โรงเรียนสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
3. โรงเรียนใช้ทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ ร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น