คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ (Management Professional)
1. สรุปคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ การบริหารจัดการที่ดีมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ หลายประการ ผู้บริหารควรยึดมั่น ด้วยการนำหลักการบริหารแบบธรรมาภิบาล (Good Governance) มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ได้ ด้วยการนำหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ประกอบด้วยหลักการ 6 ประการ ดังนี้1.หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ2.หลักคุณธรรม (Morality) หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง 3.หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ
4.หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ
5.หลักความรับผิดชอบ (Responsibility ) หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
6.หลักความคุ้มค่า (Cost effectiveness or Economy) หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
อ้างอิง : www.m-ed.net/doc01/executive.doc gotoknow.org/blog/thecityedu/159300
วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานที่8
ใบงานที่ 8
1. ระดับนามบัญญัติ (nominal scale) เป็นมาตราการวัดที่กำหนดสัญลักษณ์ขึ้นมา เพื่อเรียกหรือจำแนก หรือจัดประเภทสิ่งของตามคุณลักษณะ เช่น เพศ ศาสนา เป็นต้น
2. ระดับเรียงอันดับ (ordinal scale) เป็นมาตราการวัดที่แสดงปริมาณความมากน้อย (magnitude)
3. ระดับอันตรภาค (interval scale) เป็นมาตราการวัดที่มีคุณสมบัติ 2 ประการคือ 1) เป็น ตัวเลขที่แสดงปริมาณมากน้อย (magnitude) 2) ความแตกต่างระหว่างหน่วยเท่ากัน (equal intervals) เช่น การแบ่ง 1 ปีออกเป็น 365 วัน ซึ่งแต่ละวันถือว่ามีหน่วย หรือช่วงระยะเวลาเท่ากัน หรือการแบ่งช่วงการวัดระดับความร้อนออกเป็นองศา เป็นต้น
4. ระดับอัตราส่วน (ratio scale) เป็นมาตราการวัดที่มีคุณสมบัติ 3 ประการคือ 1) เป็นตัวเลขที่แสดงปริมาณมากน้อย(magnitude) 2) ความแตกต่างระหว่างหน่วยแต่ละหน่วยเท่ากัน(equal interval) 3) มีศูนย์แท้ (absolute Zero) ข้อมูลที่จัดอยู่ในมาตรานี้มักเป็นข้อมูลทางกายภาพศาสตร์ (physical Sciences) เช่น สมศรีสูง 160 เนติเมตร แก้วสูง 80 เซ็นติเมตร แสดงว่าสมศรีสูงกว่าแก้ว 80 เซ็นติเมตร หรือสูงเป็น 2 เท่าของแก้ว หรือเก้าอี้สูง 0 เซ็นติเมตรแสดงว่าไม่มีความสูงอยู่เลย
ตัวแปร : Variable มาจากคำว่า vary = ผันแปร เปลี่ยนแปลง able = สามารถ Variable = สิ่งที่สามารถแปรค่าได้ ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชายและเพศหญิง ระดับการศึกษาอาจแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นต้น สิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าไม่ได้ไม่ถือว่าเป็นตัวแปรเช่น คน แมว แต่ถ้าเป็น เชื้อชาติของคน สีของแมว จะกลายเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าได้จึงจะถือว่าเป็นตัวแปร ประเภทของตัวแปร เกณฑ์ในการจำแนกประเภทของตัวแปรมี4 ลักษณะคือ
1. พิจารณาคุณสมบัติของค่าที่แปรออกมาแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ(Quantitative Variables) เป็นตัวแปรที่แตกต่างกันในระหว่างพวกเดียวกันหรือค่าที่แปรออกมาแตกต่างกันออกไปตามความถี่จำนวนปริมาณมากน้อยหรือลำดับที่ เช่น ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาต่อคน ต่อวัน (10,15,20,...(บาท)) 1.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ(Qualitative Variables) เป็นตัวแปร ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันในแง่ของชนิดหรือประเภทโดยใช้ชื่อเป็นภาษาที่แสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในพวกนั้น เช่น อาชีพ (ข้าราชการ ค้าขาย เกษตรกร รับจ้าง) 2. พิจารณาความต่อเนื่องตามธรรมชาติของตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 2.1 ตัวแปรค่าต่อเนื่อง (Continuous Variables) เป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่องกันตลอด เช่น ส่วนสูงน้ำหนัก คะแนนสอบ เป็นต้น
2.2 ตัวแปรค่าไม่ต่อเนื่อง(Discrete Variables) ตัวแปรประเภทนี้มีค่าเฉพาะตัวของมัน แยกออกจากกันเด็ดขาดวัดค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น จำนวนหนังสือ เพศ (ชายแทนด้วย 0, หญิงแทนด้วย 1)เป็นต้น 3. พิจารณาความเป็นไปได้ของผู้วิจัยที่จะจัดกระทำกับตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 3.1 ตัวแปรที่กำหนดได้(Active Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสามารถกำหนดให้กับผู้รับการทดลองได้เช่น วิธีสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การจัดสภาพห้องเรียนและอื่น ๆ เป็นต้น 3.2 ตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้(Attribute of Organismic Variables) เป็นตัวแปรที่ยากจะกำหนดให้ผู้รับการทดลองได้ตัวแปรเหล่านี้เป็นลักษณะของผู้รับการทดลอง เช่น เพศ สภาพเศรษฐกิจ ความถนัดเป็นต้น 4. พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผลเป็นการแบ่งตามลักษณะการใช้เป็นวิธีแบ่งตัวแปรที่นิยมกันมากที่สุดแบ่งเป็น 4.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(Independent Variables) เป็นตัวแปรที่จะทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุตัวแปรที่มาก่อน 4.2 ตัวแปรตาม(Dependent Variables) เป็นตัวแปรที่เป็นผลเป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้น 4.3 ตัวแปรแทรกซ้อน(Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นโดยผู้วิจัยต้องพยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ควบคุมด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างควบคุมโดยวิธีการทางสถิติหรือ ผู้วิจัยอาจนำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษาเป็นตัวแปรอิสระอีกตัวแปรหนึ่งไปเลย ตัวอย่าง 1) สถานการณ์: ครูคนหนึ่งมีความสนใจจะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นม.1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปและแบบธรรมดามีผลแตกต่างกันหรือไม่ ตัวแปรต้น คือ วิธีสอน ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ตัวแปรแทรกซ้อน ที่น่าจะต้องควบคุม คือการเรียนพิเศษการศึกษาเพิ่มเติมพื้นฐานของนักเรียน 2) จุดมุ่งหมายการวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบความถนัดด้านเครื่องจักรกลระหว่างนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง ตัวแปรต้น คือ เพศของนักเรียน ตัวแปรตาม คือ ความถนัดด้านเครื่องจักรกล ตัวแปรแทรกซ้อน ความตั้งใจเรียน พื้นฐานนักเรียน 3) สมมุติฐานการวิจัย: นักเรียนที่มีผู้ปกครองรับราชการ และนักเรียนที่มีผู้ปกครองประกอบ อาชีพเกษตรกรรมมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำแตกต่างกัน ตัวแปรต้น คือ อาชีพของผู้ปกครอง ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมความเป็นผู้นำ
1. ระดับนามบัญญัติ (nominal scale) เป็นมาตราการวัดที่กำหนดสัญลักษณ์ขึ้นมา เพื่อเรียกหรือจำแนก หรือจัดประเภทสิ่งของตามคุณลักษณะ เช่น เพศ ศาสนา เป็นต้น
2. ระดับเรียงอันดับ (ordinal scale) เป็นมาตราการวัดที่แสดงปริมาณความมากน้อย (magnitude)
3. ระดับอันตรภาค (interval scale) เป็นมาตราการวัดที่มีคุณสมบัติ 2 ประการคือ 1) เป็น ตัวเลขที่แสดงปริมาณมากน้อย (magnitude) 2) ความแตกต่างระหว่างหน่วยเท่ากัน (equal intervals) เช่น การแบ่ง 1 ปีออกเป็น 365 วัน ซึ่งแต่ละวันถือว่ามีหน่วย หรือช่วงระยะเวลาเท่ากัน หรือการแบ่งช่วงการวัดระดับความร้อนออกเป็นองศา เป็นต้น
4. ระดับอัตราส่วน (ratio scale) เป็นมาตราการวัดที่มีคุณสมบัติ 3 ประการคือ 1) เป็นตัวเลขที่แสดงปริมาณมากน้อย(magnitude) 2) ความแตกต่างระหว่างหน่วยแต่ละหน่วยเท่ากัน(equal interval) 3) มีศูนย์แท้ (absolute Zero) ข้อมูลที่จัดอยู่ในมาตรานี้มักเป็นข้อมูลทางกายภาพศาสตร์ (physical Sciences) เช่น สมศรีสูง 160 เนติเมตร แก้วสูง 80 เซ็นติเมตร แสดงว่าสมศรีสูงกว่าแก้ว 80 เซ็นติเมตร หรือสูงเป็น 2 เท่าของแก้ว หรือเก้าอี้สูง 0 เซ็นติเมตรแสดงว่าไม่มีความสูงอยู่เลย
ตัวแปร : Variable มาจากคำว่า vary = ผันแปร เปลี่ยนแปลง able = สามารถ Variable = สิ่งที่สามารถแปรค่าได้ ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชายและเพศหญิง ระดับการศึกษาอาจแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นต้น สิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าไม่ได้ไม่ถือว่าเป็นตัวแปรเช่น คน แมว แต่ถ้าเป็น เชื้อชาติของคน สีของแมว จะกลายเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าได้จึงจะถือว่าเป็นตัวแปร ประเภทของตัวแปร เกณฑ์ในการจำแนกประเภทของตัวแปรมี4 ลักษณะคือ
1. พิจารณาคุณสมบัติของค่าที่แปรออกมาแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ(Quantitative Variables) เป็นตัวแปรที่แตกต่างกันในระหว่างพวกเดียวกันหรือค่าที่แปรออกมาแตกต่างกันออกไปตามความถี่จำนวนปริมาณมากน้อยหรือลำดับที่ เช่น ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาต่อคน ต่อวัน (10,15,20,...(บาท)) 1.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ(Qualitative Variables) เป็นตัวแปร ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันในแง่ของชนิดหรือประเภทโดยใช้ชื่อเป็นภาษาที่แสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในพวกนั้น เช่น อาชีพ (ข้าราชการ ค้าขาย เกษตรกร รับจ้าง) 2. พิจารณาความต่อเนื่องตามธรรมชาติของตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 2.1 ตัวแปรค่าต่อเนื่อง (Continuous Variables) เป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่องกันตลอด เช่น ส่วนสูงน้ำหนัก คะแนนสอบ เป็นต้น
2.2 ตัวแปรค่าไม่ต่อเนื่อง(Discrete Variables) ตัวแปรประเภทนี้มีค่าเฉพาะตัวของมัน แยกออกจากกันเด็ดขาดวัดค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น จำนวนหนังสือ เพศ (ชายแทนด้วย 0, หญิงแทนด้วย 1)เป็นต้น 3. พิจารณาความเป็นไปได้ของผู้วิจัยที่จะจัดกระทำกับตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 3.1 ตัวแปรที่กำหนดได้(Active Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสามารถกำหนดให้กับผู้รับการทดลองได้เช่น วิธีสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การจัดสภาพห้องเรียนและอื่น ๆ เป็นต้น 3.2 ตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้(Attribute of Organismic Variables) เป็นตัวแปรที่ยากจะกำหนดให้ผู้รับการทดลองได้ตัวแปรเหล่านี้เป็นลักษณะของผู้รับการทดลอง เช่น เพศ สภาพเศรษฐกิจ ความถนัดเป็นต้น 4. พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผลเป็นการแบ่งตามลักษณะการใช้เป็นวิธีแบ่งตัวแปรที่นิยมกันมากที่สุดแบ่งเป็น 4.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(Independent Variables) เป็นตัวแปรที่จะทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุตัวแปรที่มาก่อน 4.2 ตัวแปรตาม(Dependent Variables) เป็นตัวแปรที่เป็นผลเป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้น 4.3 ตัวแปรแทรกซ้อน(Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นโดยผู้วิจัยต้องพยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ควบคุมด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างควบคุมโดยวิธีการทางสถิติหรือ ผู้วิจัยอาจนำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษาเป็นตัวแปรอิสระอีกตัวแปรหนึ่งไปเลย ตัวอย่าง 1) สถานการณ์: ครูคนหนึ่งมีความสนใจจะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นม.1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปและแบบธรรมดามีผลแตกต่างกันหรือไม่ ตัวแปรต้น คือ วิธีสอน ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ตัวแปรแทรกซ้อน ที่น่าจะต้องควบคุม คือการเรียนพิเศษการศึกษาเพิ่มเติมพื้นฐานของนักเรียน 2) จุดมุ่งหมายการวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบความถนัดด้านเครื่องจักรกลระหว่างนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง ตัวแปรต้น คือ เพศของนักเรียน ตัวแปรตาม คือ ความถนัดด้านเครื่องจักรกล ตัวแปรแทรกซ้อน ความตั้งใจเรียน พื้นฐานนักเรียน 3) สมมุติฐานการวิจัย: นักเรียนที่มีผู้ปกครองรับราชการ และนักเรียนที่มีผู้ปกครองประกอบ อาชีพเกษตรกรรมมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำแตกต่างกัน ตัวแปรต้น คือ อาชีพของผู้ปกครอง ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมความเป็นผู้นำ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)